วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง(Teaching Children about Gravity)

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

       การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง หมายถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศุนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้สิ่งทุกอย่างบนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศ
       วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความเป็นจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยใช้กระบวนการการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เมื่อเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์นั้นจะช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาการตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คือ การส่งเสริมให้เด็กเกิดพัฒนาการ 4 ด้าน คือ
      1.ด้านร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสเรียนรู้
      2.ด้านอารมณ์จิตใจ ได้รับการตอบสนองความต้องการและความสนใจ
      3.ด้านสังคม ได้มีการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น รู้จักกฎกติกา ระเบียบของสังคม
      4.ด้านสติปัญญา รู้จักการคิดแก้ปัญหาการตัดสินใจและได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง การพัฒนาดังกล่าวครูและผู้ปกครองสามารถส่งเสริมเด็กได้จากเรื่องแรงโน้มถ่วง

การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง มีประโยชน์เด็กดังนี้

    1.เด็กจะได้รับประสบการณ์เรื่องแรงโน้มถ่วงซึ่งเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของเด็ก จึงเป็นพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป
    2.เด็กจะเกิดความตระหนักถึงคุณค่าของแรงโน้มถ่วงที่ส่งผลให้การอยู่ในโลกและเป็นธรรมชาติ(ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น)ในขณะเดียวกันแรงโน้มถ่วงก็เป็นโทษ ทำให้เด็กต้องเรียนรู้ที่จะระมัดระวังภัยที่จะเกิดขึ้น เช่น การขึ้นลงบันไดอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้ลื่นหกล้มตกมาบาดเจ็บ การนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่และมีผลไม้สุกขนาดใหญ่หล่นลงมา
   3.เด็กจะได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากการฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องแรงโน้มถ่วงเริ่มจากการที่เด็กฝึกหัดตั้งตั้งคำถาม เป็นข้อสงสัยที่ต้องหาคำตอบจากการสืบค้น การปฏิบัติ จนได้ผลที่เป็นจริง ปรากฏอย่างเป็นเหตุผล และสามารถนำ
ไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมตามวัย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น